วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

ดอกไม้ประจำชาติไทย




คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ กำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ๓ สิ่งได้แก่
สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย (Chang Thai)

ดอกไม้ประดับชาติ คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek)

สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ ศาลาไทย (Sala Thai)

แม้ว่าคณะกรรมการฯ ได้กำหนดให้ดอกราชพฤกษ์ เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยแล้ว ก็ยังมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับลักษณะและการเรียกชื่อ ซึ่งมักสับสนกับพรรณไม้ในสกุลเดียวกันอย่าง ชัยพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ กาฬพฤกษ์

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรยายลักษณะของพรรณไม้ข้างต้นไว้ย่อ ๆ ดังนี้

กัลปพฤกษ์ [กันละปะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia bakeriana Craib ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ฝักมีขนนุ่ม

กาฬพฤกษ์ น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cas sia grandis L.f. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นดํา ใบอ่อนสีแดง ดอกเล็ก สีแดงคล้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม ฝักใหญ่อ้วนสั้น ผิวขรุขระ ด้านข้างมีสัน เป็นพรรณไม้ที่นําเข้ามาปลูก

ชัยพฤกษ์ [ไชยะพฺรึก] น. ชื่อไม้ ต้นชนิด Cassia javanica L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝักเกลี้ยง ใช้ทํายาได้

ราชพฤกษ์ [ราดชะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia fistula L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง ฝักสีดํา เกลี้ยง ใช้ทํายาได้, คูน หรือ ลมแล้ง ก็เรียก; ดอกไม้ประจำชาติ

ด้วยชื่อที่มีความหมายโดดเด่นของราชพฤกษ์ ที่แปลว่า ต้นไม้ของพระราชา และเป็นไม้ยืนต้นที่มีดอกสีเหลืองอร่ามตา ดอกราชพฤกษ์ จึงเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำชาติไทย








ที่มาของดอกไม้ประจำชาติไทย


เอกลักษณ์ประจำชาติของไทยอย่างหนึ่ง ที่แสดงถึงความสวยงาม ร่มเย็น คือ ดอกไม้ เดิมไม่มีการบันทึกแน่ชัดว่า เป็นดอกไม้ชนิดใดคือดอกไม้ประจำชาติไทยเพียงแต่ต่อพู ดกันต่อ ๆ มาว่า ดอกราชพฤกษ์หรือชัยพฤกษ์ น่าจะเป็นดอกไม้ประจำชาติไทย
คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบและออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ๓ สิ่ง ลงนามโดยพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔ คือ

ในเบื้องต้น กระทรวงเกษตร กรมป่าไม้ ได้จัดประชุมเรื่อง การกำหนดต้นไม้และสัตว์ประจำชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๐๖ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๐๖ และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้กำหนดต้นราชพฤษ์หรือคูณ เป็นต้นไม้ประจำชาติ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประชุมเรื่องการกำหนดเอกลักษณ์ประจำชาติไทยในเรื่ องดอกไม้ประจำชาติ

และได้ให้เหตุผลในการเลือกดอกราชพฤกษ์ (คูณ) Ratchaphruek (Cassia Fistula Linn.) เป็นดอกไม้ประจำชาติ เพื่อส่งเสริมสัญลักษณ์ประจำชาติไทย และเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้มีผลระยะยาว ด้วยเหตุผลตามผลสรุปของการศึกษา และรวบรวมข้อมูลของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรว่า

ราชพฤกษ์ เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักกันแพร่หลาย สามารถขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย

1 Have around Thailand.

ราชพฤกษ์ ใช้ประโยชน์ได้มากเช่นฝักเป็นสมุนไพร ที่มีค่ายิ่งในตำหรับแพทย์แผนโบราณและแก่นแข็งใช้ทำเ สาเรือนได้ดี

2 Use for Medicine,Furniture(Building house)

ราชพฤกษ์ มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวไทย เพราะเป็นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนามและอาถรรพ์ แก่นไม้ชัยพฤษ์เคยใช้พิธีสำคัญ ๆ มาก่อนเช่น พิธีลงหลักเมืองใช้เป็นเสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ทำคธาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร นอกจากนี้อินทรธนูของข้าราชการพลเรือนก็จำลองจาก ช่อชัยพฤษ์เป็นเครื่องหมาย

3 Best tree,used in the palace celebration.

ราชพฤกษ์ มีอายุยืนนานและทนทาน

4 Tree is long live.

ราชพฤกษ์ มีทรวดทรงและพุ่มงามมีดอกเหลืองอร่ามเต็มต้น เป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา

5 Symbol for Buddish.
อ้างอิงhttp://webboard.playpark.com/showthread.php?41454-%D1%A1%CD%A1%D0%A8%D3%AA%D2%B5%C2%A1%D1%B9

คำว่า "แม่"


แม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่ หรือ มารดา เป็นคำที่เรียกผู้ให้กำเนิด และโดยทั่วไป คือ แม่ที่เป็นบุคคลสำคัญของครอบครัวแบบ พ่อ แม่ ลูก เป็นผู้มีพระคุณต่อลูกเพราะเป็นผู้ให้กำเนิด แม่ทั่วไปมีหน้าที่ให้ครอบครัวคือ เลี้ยงลูก ดูแลบ้าน
สำหรับผู้หญิงที่จะเป็นแม่คน หรือจะมีบุตรได้นั้น ควรจะมีอายุระหว่าง 20-30 ปี เนื่องจากในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ผู้หญิงมีการเจริญเติบโตทางร่างกาย สมบูรณ์เต็มที่ ไม่เด็ก หรือว่าแก่เกินไป
คนไทยบางคนมักเรียก แม่ ของตัวเองว่า "คุณแม่" ซึ่งถือเป็นคำที่สุภาพกว่าการเรียกว่า "แม่" ห้วน ๆ
ในภาษาไทยบางครั้งคำว่า แม่ ถูกใช้เรียก ผู้หญิง ทั่วๆไป หรือ จำเพาะเป็นกลุ่มๆ เช่น แม่บ้าน แม่นม หรือบางครั้งก็ใช้เรียกสิ่งที่เป็นตัวหลักของสิ่งอื่น เช่น แม่ทัพ แม่งาน และบางครั้งก็เรียกสิ่งที่ให้กำเนิดสิ่งอื่นๆในธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ
มีบทประพันธ์แปลเกี่ยวกับความรักของแม่ของพระราชธรรมนิเทศ ไว้ดังนี้[1]
Cquote1.svg
ในโลกอันหนาวทรวงลวงหลอกนี้
ช่างไม่มีธารรักอันศักดิ์สิทธิ์
ที่ซึมซาบดื่มด่ำอมฤต
เหมือนในจิตของแม่รักแท้จริง
Cquote2.svg

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] การออกเสียงคำว่าแม่ของแต่ละภาษา

แม่หรือว่าผู้หญิงที่แต่งงานแล้วให้กำเนิดลูก และลูกก็จะเรียกผู้หญิงคนนั้นว่าแม่โดยทั่วไปแล้วแต่ละภาษามักจะใช้อักษร "ม" เหมือนกันหมดเช่น
  • คนไทย จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "แม่"
  • ภาษาอังกฤษ จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "มาเธอร์ (Mother)" หรือ "มัม (Mom)"
  • ภาษาสันสกฤต จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มารดา"
  • ภาษาบาลี จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มาตา"
  • คนจีน จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "ม่าม้า"
  • คนแขก จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มามี้"
  • คนฝรั่งเศส จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มามอง"
  • คนญี่ปุ่น จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "โอก้าซัง"
  • คนเกาหลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "ออมม่า"
  • คนเวียดนาม เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "แม๊" ออกเสียงใกล้เคียงภาษาไทยมาก

[แก้] ความหมายของคำว่า "แม่" ในภาษาไทย

ในภาษาไทยเราให้ความหมายของคำว่าแม่นั้นมากกว่าแปลว่าหญิงผู้ให้กำเนิดลูกเท่านั้น แต่แม่ยังหมายรวมไปถึงหญิงที่ต้องการเคารพยกย่อง เช่น
  • แม่พระ
กรณีที่ให้ความหมายเป็นต้นแบบ เช่น
  • แม่พิมพ์ หมายความว่า เป็นเบ้าหล่อที่ใช้ในงานพิมพ์
  • แม่แบบ หมายความว่า แบบจำลอง พิมพ์เขียว หรือ ตัวอย่าง เป็นต้น
กรณีที่ให้ความหมายในเชิงความยิ่งใหญ่หรือพิเศษ เช่น
  • แม่น้ำ ซึ่งหมายความว่า ลำธารขนาดใหญ่
  • แม่พิมพ์ของชาติ ที่เป็นอุปมาในการเปรียบเทียบครูว่า เบ้าที่ใช้ในการหล่อหลอมเยาวชนซึ่งถือเป็นอนาคตของชาติ
  • แม่ทัพ หมายความว่า ผู้ซึ่งมีอำนาจมากที่สุดในกองทัพ
  • แม่งาน หมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้า หรือเป็นกำลังหลักในการทำงาน
  • แม่บท หมายความว่า แผนงานหลักขนาดใหญ่ ซึ่งกินเวลาในการดำเนินการร่วมปี ในบางครั้งอาจถือใช้เป็นการถาวร
  • แม่เหล็ก หมายความว่า โลหะพิเศษชนิดหนึ่งมีอำนาจในการดูดเหล็กได้
  • แม่แรง หมายความว่า เครื่องทุ่นแรงสำหรับช่วยในการยกของหนัก
  • แม่ไม้ หมายความว่า ท่าแม่แบบของศิลปะป้องกันตัว
กรณีที่ให้ความหมายถึงหญิงที่ทำหน้าที่ต่างๆ เช่น
  • แม่นม หมายความว่า หญิงที่มีหน้า่ที่ให้ทารกดูดนมของตัวเอง
  • แม่เลี้ยง หมายความว่า หญิงที่มีเป็นภรรยาของพ่อ แต่ไม่ได้ให้กำเนิด
  • แม่บุญธรรม หมายความว่า หญิงที่รับอุปการะเลี้ยงดูเด็กโดยสมัครใจ
  • แม่บ้าน หมายความว่า หญิงที่มีหน้าที่ดูแลจัดการภายในบ้าน
  • แม่ครัว หมายความว่า หญิงที่มีหน้าที่ในการประกอบ หรือปรุงอาหาร
  • แม่ชี หมายความว่า เป็นพุทธศาสนิกชนเพศหญิงที่โกนผม โกนคิ้ว นุ่งขาวห่มขาว รักษาศีล ๘
นอกจากนี้ยังมี แม่สามี แม่ยาย แม่แก่ แม่เฒ่า แม่หม้าย แม่ร้า แม่แปรก ฯลฯ
อ้างอิงhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์สเปน

ประวัติศาสตร์สเปน คือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับอาณาบริเวณส่วนใหญ่บนคาบสมุทรไอบีเรียในภูมิภาคยุโรปใต้ซึ่งมีพัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านยุครุ่งเรืองและยุคตกต่ำของจักรวรรดิสากลแห่งแรกของโลกจนกลายมาเป็นราชอาณาจักรสเปนในปัจจุบัน อันเป็นช่วงฟื้นฟูตนเองหลังสมัยการปกครองแบบเผด็จการของนายพลฟรังโกได้ผ่านพ้นไป มีอยู่หลายช่วงที่ประวัติศาสตร์การเมืองและการทหารของสเปนเต็มไปด้วยความวุ่นวายและความรุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายและความพยายามที่จะจัดการกับความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดความเชื่อในดินแดนของตนนั่นเอง
มนุษย์สมัยใหม่เข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียเป็นเวลานานกว่า 35,000 ปีมาแล้ว ตามมาด้วยคลื่นผู้รุกรานและผู้ตั้งอาณานิคมชนชาติต่าง ๆ ได้แก่ ชาวเคลต์ ชาวฟินิเชีย ชาวคาร์เทจ และชาวกรีกตลอดระยะเวลานับพัน ๆ ปี เมื่อถึงประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทั้งคาบสมุทรจึงตกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโรมัน ก่อนจะตกไปอยู่ภายใต้การปกครองจากชาววิซิกอท และในปี ค.ศ. 711 ชาวแอฟริกาเหนือซึ่งเป็นชาวมุสลิม (ชาวมัวร์) ก็เริ่มเข้ามามีอำนาจ ในที่สุดอาณาจักรอิสลามก็ได้รับการสถาปนาขึ้นบนคาบสมุทรแห่งนี้และยืนหยัดได้เป็นเวลาประมาณ 750 ปี ซึ่งพื้นที่ที่ชาวมุสลิมครอบครองนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลอันดะลุส แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังเป็นช่วงที่เรียกว่า "เรกองกิสตา" หรือการยึดดินแดนคืนของชาวคริสต์ซึ่งค่อย ๆ รุกลงไปทางใต้ เหตุการณ์เหล่านี้ดำเนินไปถึงจุดสิ้นสุดเมื่อชาวคริสต์สามารถพิชิตที่มั่นแห่งสุดท้ายของชาวมุสลิมที่กรานาดาได้ในปี ค.ศ. 1492 จากนั้นราชอาณาจักรและรัฐคาทอลิกต่าง ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรียก็ได้พัฒนาขึ้น รวมทั้งราชอาณาจักรคาสตีลและราชอาณาจักรอารากอนด้วย ซึ่งการรวมกันของอาณาจักรทั้งสองนี้จะนำไปสู่ความเป็นปึกแผ่นของรัฐชาติสเปนในเวลาต่อมา[1]
ปี ค.ศ. 1492 นี้ยังเป็นปีแห่งความสำเร็จของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสในการค้นพบโลกใหม่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาความมั่งคั่งและความแข็งแกร่งให้กับสเปน อีกหลายศตวรรษถัดมา สเปนในฐานะเจ้าอาณานิคมได้กลายเป็นชาติมหาอำนาจที่มีความสำคัญมากสุดในเวทีโลก วรรณกรรมสเปนและศิลปะสเปนเข้าสู่ยุคทองในสมัยใหม่นี้เอง อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์สเปนในช่วงนี้ก็มีจุดด่างพร้อยในเรื่องการขับไล่ชาวยิวและชาวมุสลิม การตั้งศาลไต่สวนทางศาสนา และการปฏิบัติต่อชนพื้นเมืองอย่างไม่เป็นธรรมระหว่างการล่าอาณานิคมในทวีปอเมริกา
ภายในอีกไม่กี่ศตวรรษ จักรวรรดิของสเปนในโลกใหม่ก็มีอาณาเขตแผ่ขยายจากแคลิฟอร์เนียไปจรดปาตาโกเนีย ในช่วงนี้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กจากออสเตรียเข้ามามีอำนาจในราชบัลลังก์สเปนแล้ว (ตามมาด้วยราชวงศ์บูร์บงในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18) ในทวีปยุโรป สเปนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามและความขัดแย้งทั้งในเรื่องลัทธิศาสนาและการแย่งชิงความเป็นใหญ่กันเองหลายต่อหลายครั้ง คู่สงครามที่สำคัญได้แก่ อังกฤษและฝรั่งเศส ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในลักษณะนี้ทำให้สเปนสูญเสียดินแดนในครอบครองที่ในปัจจุบันคือประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และอิตาลีไป นอกจากนี้ ผลเสียจากสงครามเหล่านั้นก็ทำให้สเปนต้องตกอยู่ในสภาวะล้มละลายอีกด้วย เมื่อเวลาผ่านไป อำนาจและเกียรติภูมิของจักรวรรดิก็เสื่อมถอยลงเป็นลำดับ และเมื่อสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 การถูกฝรั่งเศสเข้ารุกราน การเรียกร้องเอกราชของดินแดนอาณานิคม และความพ่ายแพ้ในการทำสงครามกับสหรัฐอเมริกาก็ทำให้สเปนเสียอาณานิคมของตนไปเกือบทั้งหมด
ความไม่มั่นคงทางการเมืองที่เพิ่มความซับซ้อนและความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นำสเปนไปสู่การนองเลือดในสงครามกลางเมืองซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศ สงครามสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายชาตินิยมที่มีนายพลฟรันซิสโก ฟรังโกเป็นผู้นำ (เผด็จการ) สูงสุด สภาพบ้านเมืองโดยทั่วไปในช่วงนี้จึงค่อนข้างสงบและมีความมั่นคง (ยกเว้นการก่อวินาศกรรมของขบวนการเรียกร้องเอกราชในแคว้นบาสก์) สเปนประกาศตนเป็นกลางตลอดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งแม้จะมีความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน่าทึ่งในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษ 1970 แต่ก็ต้องถูกโดดเดี่ยวทางวัฒนธรรมและการเมืองจากประชาคมโลก ฟรังโกปกครองประเทศในระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยมจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1975 การเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยจึงเริ่มขึ้น ประเทศสเปนในช่วงเวลาปัจจุบันนี้มีพัฒนาการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและทันสมัย แม้จะมีความตึงเครียดหลงเหลืออยู่ก็ตาม (เช่น กับผู้อพยพชาวมุสลิมและในแคว้นบาสก์) โดยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีมาตรฐานการครองชีพเติบโตเร็วที่สุดในยุโรป การเข้าเป็นสมาชิกประชาคมยุโรป และการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%99

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

รายชื่อกลุ่มที่6 ม.2/5

1.ด.ญ.รัตนาภรณ์    โนนก้อม  เลขที่13
2.ด.ญ.วรารัตน์         อ่วมเหล็ง   เลขที่15
3.ด.ญ.บุณริกา          มีแก่น        เลขที่ 8
4.ด.ญ.อนันต์ยา    โกแก้ว เลขที่21
5.ด.ช. พงนรินทร์    ศรีทะกิน    เลขที่ 38
6.ด.ช.เทพรักษ์       คงสูงเนิน   เลขที่33 

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

เอเซียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


แผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและการปะทุของภูเขาไฟอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยดินแดนและหมู่เกาะด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของแผ่นดินใหญ่ และแม้ว่าโดยทางเขตแดนแล้ว หมู่เกาะอันดามัน จะเป็นของอินเดีย แต่ทางภูมิศาสตร์แล้วถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมทีเดียวเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังหมายรวมอาณาเขตที่กว้างกว่านั้น รวมไปถึง ตอนใต้ของจีน ฮ่องกง และไต้หวันด้วย แต่เนื่องจากระยะหลังใช้หลักการแบ่งทางการเมือง ทำให้ส่วนดังกล่าวจึงถูกรวมเข้ากับบริเวณเอเชียตะวันออก





1 ประวัติศาสตร์

1.1 การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

2 ภูมิศาสตร์

2.1 ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต

2.2 ภูมิประเทศ

2.3 ภูมิอากาศ

3 ประชากร

3.1 ศาสนา

4 ประเทศและดินแดน

4.1 ประเทศ

4.2 ดินแดน

5 ดูเพิ่ม

6 อ้างอิง





[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

มิลตัน ออสบอร์น (Milton Osborne) นักประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวออสเตรเลียแบ่งยุคสมัยไว้อย่างหลวม ๆ ดังนี้



สมัยคลาสสิก

สมัยจารีต

สมัยอาณานิคม

สมัยใหม่[1]

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ทางซีกโลกตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย โดยทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และทิศตะวันตกติดประเทศอินเดียและบังคลาเทศ โดยตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 10 องศาใต้ถึงละติจูดที่ 28 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 92 องศาตะวันออกถึง 141 องศาตะวันตก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดยแบ่งตามภูมิศาสตร์คือ ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีป และส่วนที่เป็นหมู่เกาะ



ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปเป็นพื้นแผ่นดินใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย และอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา บางส่วนของประเทศมาเลเซีย ส่วนที่เป็นหมู่เกาะ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ บางส่วนของประเทศมาเลเซีย และติมอร์ตะวันออก



ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แบ่งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน มีช่องแคบ 4 แห่ง ได้แก่ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา ช่องแคบลอมบอก และช่องแคบมาคัสซาร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย



[แก้] ภูมิประเทศ



ภูเขาไฟมายอน ในประเทศฟิลิปปินส์ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ดังนี้



บริเวณทิวเขาและที่ราบลาดเนินตะกอนเชิงเขา ทิวเขาภายในแผ่นดินใหญ่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ แผ่กระจายออกมาจากชุมเขายูนนาน โดยมี 3 แนว ได้แก่ แนวทิศตะวันตก คือ ทิวเขาอะระกันในพม่าต่อเนื่องไปในทะเลอันดามัน เป็นภูเขาหินใหม่จึงมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แนวกลางเป็นทิวเขาด้านทิศตะวันออกของพม่าต่อเนื่องลงไปถึงภาคเหนือของไทยจนถึงภาคใต้ แนวทิศตะวันออก คือ ทิวเขาในลาวและเวียดนาม ทิวเขาตามแนวกลางและตะวันออกเป็นภูเขายุคหินกลางจึงไม่มีปรากฏการณ์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงเหมือนแนวทิศตะวันตก

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ พบอยู่สองฝั่งของแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่ราบสำคัญได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีในพม่า ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงของเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม ส่วนที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่สำคัญ เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำอิรวดี เป็นต้น

ที่ราบชายฝั่งทะเล ได้แก่ บริเวณที่เป็นหาดทรายที่เกิดจากการทับถมของทรายจากการกระทำของคลื่นในทะเล บริเวณที่เป็นดินเลนซึ่งมักจะพบป่าไม้ เช่น ป่าโกงกาง ป่าจาก เป็นต้น พบได้ทั่วไปในทุกประเทศของภูมิภาค ยกเว้นประเทศลาวซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ไม่มีที่ราบชายฝั่งทะเล เพราะไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล)

หมู่เกาะ ส่วนใหญ่เป็นเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟ ทั้งที่ยังมีพลังและที่ดับสนิทแล้ว ต่อเนื่องมาจากทิศตะวันตกในแผ่นดินประเทศพม่า ลงไปเป็นหมู่เกาะอันดามัน นิโคบาร์ สุมาตรา ชวา ในอินโดนีเซีย และหมู่เกาะในฟิลิปปินส์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากมาย ประเทศที่มีเกาะจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย ซึ่งมีเกาะมากกว่า 17,000 เกาะ ประเทศฟิลิปปินส์มีเกาะประมาณ 7,000 เกาะ เนื่องจากดินในเขตภูเขาไฟจะมีความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้แถบนี้มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แม้จะต้องเสี่ยงต่อการปะทุของภูเขาไฟและแผ่นดินไหว

[แก้] ภูมิอากาศ



ไซโคลนนาร์กีส ขณะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2551ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นหรือเขตร้อน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ มีสภาพภูมิอากาศชุ่มชื้นในฤดูฝนและแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน และอีกลักษณะหนึ่ง คือ มีฝนตกชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี เนื่องจากภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ดังนั้นจึงมีอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันหรือรายเดือนสูงสม่ำเสมอตลอดทั้งปี



ลักษณะภูมิอากาศที่สลับระหว่างความชุ่มชื้นในฤดูฝน และความแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน จะพบได้ในบริเวณประเทศส่วนต่อกับแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย ได้แก่ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ที่อยู่เหนือละติจูด 10 องศาเหนือขึ้นไป ในฤดูฝนจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งพายุที่พัดมาจากทิศตะวันออก ทำให้มีฝนตกชุกในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ส่วนในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายนจะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนพัดพาเอาความแห้งแล้งเข้ามาสู่พื้นที่ ทำให้เห็นความแตกต่างของทั้งสองฤดู ในบางปีอาจมีพายุหมุนพัดเข้าสู่แผ่นดินใหญ่ทำให้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุก่อน เช่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และลาว จะได้รับผลกระทบมาก ทำให้เกิดภัยน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม



สำหรับประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์นั้น จะได้รับอิทธิพลจากลมทะเลและพายุแบบต่าง ๆ เกือบตลอดทั้งปี จึงทำให้มีฝนตกชุก ยกเว้นบางบริเวณที่อาจจะมีอากาศแห้งแล้งได้บ้างเป็นระยะเวลาสั้น เช่น ทางตะวันออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับประเทศฟิลิปปินส์พายุไต้ฝุ่นซึ่งมีทั้งความเร็วลมสูงและปริมาณน้ำฝนมาก พัดผ่านประเทศเป็นจำนวนมากกว่า 10 ลูกต่อปี ทำให้ประเทศได้รับผลกระทบที่รุนแรงเป็นประจำ



[แก้] ประชากร

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2007 มีประชากรประมาณ 575.5 ล้านคน สิงคโปร์ คือเกาะที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลกหากเทียบกับขนาด [ต้องการอ้างอิง] มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา และ ศาสนา



[แก้] ศาสนา

ทางฝั่งแผ่นดินใหญ่ในภูมิภาคนี้นั้น จะนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนมาก ประเทศเหล่านั้นคือ ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และ พม่า สิงคโปร์นั้นก็เป็นประเทศนับถือศาสนาพุทธ ส่วนทางด้านคาบสมุทรมลายู และ หมู่เกาะอินโดนีเซีย นั้น จะนับถือศาสนาอิสลาม ได้แก่ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และ บรูไน ส่วนประเทศฟิลิปปินส์นั้น นับถือศาสนาคริสต์ ประเทศติมอร์ตะวันออกนั้นก็นับถือศาสนาคริสต์เป็นหลักเหมือนกัน



แบ่งออกได้เป็นดังนี้



หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (อินเดีย) พราหมณ์-ฮินดู (71%), พุทธ, คริสต์, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, อิสลาม, ซิกข์

บรูไน อิสลาม (67%), พุทธ (13%), คริสต์ (10%), อื่นๆ (ความเชื้อพื้นเมือง ฯลฯ) (10%)

ประเทศพม่า พุทธนิกายเถรวาท (89%), อิสลาม (4%), คริสต์ (4%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (1%), อื่นๆ (2%)

กัมพูชา พุทธนิกายเถรวาท (95%), อิสลาม, คริสต์, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, อื่นๆ (5%)

เกาะคริสต์มาส (ออสเตรเลีย) พระพุทธศาสนา (36%), อิสลาม (25%), คริสต์ (18%), ลัทธิเต๋า (15%), อื่นๆ (6%)

หมู่เกาะโคโคส (ออสเตรเลีย) อิสลามนิกายซุนนีย์ (80%), อื่นๆ (20%)

ติมอร์ตะวันออก คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (90%), อิสลาม (5%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (3%), อื่นๆ (พุทธ, พราหมณ์-ฮินดู, อื่นๆ) (2%)

อินโดนีเซีย อิสลาม (86.1%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (5.7%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (3%), พราหมณ์-ฮินดู (1.8%), อื่นๆ รวม พุทธ, ไม่ระบุ (3.4%)[2]

ลาว พุทธนิกายเถรวาท (65%) with ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (32.9%), คริสต์ (1.3%), อื่นๆ (0.8%)

มาเลเซีย อิสลาม (60.4%), พุทธนิกายมหายาน (19.2%), คริสต์ (9.1%), พราหมณ์-ฮินดู (6.1%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (5.2%)

ปาปัวนิวกินี คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (27%), อีวานจีลิค ลูเทอแรน (20%), เธอะ ยูไนเต็ด เชิร์ช (12%), คริสต์นิกายเซเวนเดย์ แอดเวนติสต์ (10%), Pentecostal (9%), คริสต์นิกายอีแวนเจลิค (7%), คริสต์นิกายแองกลิกัน (3%), คริสต์นิกายอื่น ๆ (8%), อื่น ๆ (4%)

ฟิลิปปินส์ คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (80%), อิสลาม (5%), คริสต์นิกายอีแวนเจลิค (2.8%), Iglesia ni Cristo (2.2%), Philippine Independent Church (Aglipayan) (2%), คริสต์นิกายอื่น ๆ (3%), อื่นๆ (ความเชื่อดั้งเดิม, พุทธ, ยิว, ไม่มีศาสนา, อื่นๆ) (5%)

สิงคโปร์ พุทธ (42.5%), อิสลาม (15%), ลัทธิเต๋า (8%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (4.5%), พราหมณ์-ฮินดู (4%), ไม่มีศาสนา (15%), คริสต์ (10%), อื่นๆ (1%)

ไทย พุทธนิกายเถรวาท (94.6%), อิสลาม (4.6%), อื่นๆ (1%)

เวียดนาม พุทธนิกายมหายาน (78%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (7%), พุทธนิกายเถรวาท (5%), ศาสนาจ๋าว ได่ (2%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (1%), อื่นๆ (ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, ลัทธิฮวา ห่าว, อิสลาม, ไม่มีศาสนา, อื่นๆ; 7%)



[แก้] ประเทศและดินแดน

[แก้] ประเทศ

ลำดับ ประเทศ พื้นที่ (ตร.กม.)[3] ประชากร (พ.ศ. 2552)[4] ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) เมืองหลวง

1 อินโดนีเซีย 1,904,569 229,965,000 120.7 จาการ์ตา

2 ประเทศพม่า 676,578 50,020,000 73.9 เนปีดอ

3 ไทย 513,115 67,389,730 122.0 กรุงเทพมหานคร

4 เวียดนาม 331,210 88,069,000 265.0 ฮานอย

5 มาเลเซีย 329,847 27,468,000 83.3 กัวลาลัมเปอร์

6 ฟิลิปปินส์ 300,000 91,983,000 306.6 มะนิลา

7 ลาว 236,800 6,320,000 26.7 เวียงจันทน์

8 กัมพูชา 181,035 14,805,000 81.8 พนมเปญ

9 ติมอร์ตะวันออก 14,874 1,134,000 76.2 ดิลี

10 บรูไน 5,765 400,000 69.4 บันดาร์เสรีเบกาวัน

11 สิงคโปร์ 710.2 4,737,000 6,796.3 สิงคโปร์ (ดาวน์ทาวน์ คอร์)



[แก้] ดินแดน

ดินแดน พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) เมืองเอก

หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (อินเดีย) 8,249[5] 356,265[5] 43.2 พอร์ตแบร์

เกาะคริสต์มาส (ออสเตรเลีย) 135[6] 1,402[6] 10.4 ฟลายอิงฟิชโคฟ

หมู่เกาะโคโคส (ออสเตรเลีย) 14[7] 596[7] 42.6 เวสต์ไอส์แลนด์



[แก้] ดูเพิ่ม

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

ซีเกมส์ กีฬาที่แข่งสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

[แก้] อ้างอิง

^ ศึกษาเพิ่มเติมที่ ออสบอร์น, มิลตัน. (2544). เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : สังเขปประวัติศาสตร์. เชียงใหม่: ตรัสวิน (ซิลค์เวอร์มบุ๊คส์).

^ Indonesia - The World Factbook https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/id.html

^ Country Comparison :: Area. CIA World Factbook. สืบค้นวันที่ 2009-09-12

^ Table A.1. Total Population by Sex in 2009 and Sex Ratio by Country In 2009 (Medium Variant). Population Division of the Department of Economic and Social Affairs of the United Nations Secretariat. สืบค้นวันที่ 2009-09-12

^ 5.0 5.1 Andaman and Nicobar Islands: General Info. National Informatics Centre. สืบค้นวันที่ 2009-09-12

^ 6.0 6.1 Christmas Islands. CIA World Factbook. สืบค้นวันที่ 2009-09-12

^ 7.0 7.1 Cocos (Keeling) Islands. CIA World Factbook. สืบค้นวันที่ 2009-09-12

[ซ่อน]ด • พ • กภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก



แอฟริกา แอฟริกากลาง · คองโก · แอฟริกาตะวันออก · ทะเลสาบใหญ่ · กินี · จะงอยแอฟริกา · แอฟริกาเหนือ · มาเกร็บ · ซาเฮล · แอฟริกาใต้ · แอฟริกากึ่งสะฮารา · ซูดาน · แอฟริกาตะวันตก



อเมริกา อเมริกาเหนือ กลุ่มแคริบเบียน · อเมริกากลาง · เกรตเลกส์ · เกรตเพลนส์ · อเมริกาเหนือ · แปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ · ภูมิภาคแปซิฟิก

อเมริกาใต้ กลุ่มรัฐแอนดีส · เกียนา · ปาตาโกเนีย · ลาตินอเมริกา · อเมริกาใต้ · อเมริกาใต้ตอนใต้ · ภูมิภาคแปซิฟิก





ยูเรเชีย เอเชีย เอเชียกลาง · เอเชียตะวันออก · อินดีสตะวันออก · ตะวันออกไกล · อนุทวีปอินเดีย · เอเชียเหนือ · ไซบีเรีย · เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ · ตะวันออกกลาง · ตะวันออกใกล้ · กลุ่มรัฐเลแวนต์ · อนาโตเลีย · อาหรับ

ยุโรป บอลข่าน · ภูมิภาคบอลติก · เบเนลักซ์ · หมู่เกาะอังกฤษ · ยุโรปกลาง · ยุโรปตะวันออก · ยุโรปเหนือ · กลุ่มนอร์ดิก · สแกนดิเนเวีย · ยุโรปใต้ · ยุโรปตะวันตก





โอเชียเนีย ออสตราเลเซีย · เมลานีเซีย · ไมโครนีเซีย · โพลินีเซีย · หมู่เกาะอะลิวเชียน · ภูมิภาคแปซิฟิก

http://th.wikipedia.org/wiki/เอเชียตะวันออกเฉียงใต้