วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

ดอกไม้ประจำชาติไทย




คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ กำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ๓ สิ่งได้แก่
สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย (Chang Thai)

ดอกไม้ประดับชาติ คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek)

สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ ศาลาไทย (Sala Thai)

แม้ว่าคณะกรรมการฯ ได้กำหนดให้ดอกราชพฤกษ์ เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยแล้ว ก็ยังมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับลักษณะและการเรียกชื่อ ซึ่งมักสับสนกับพรรณไม้ในสกุลเดียวกันอย่าง ชัยพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ กาฬพฤกษ์

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรยายลักษณะของพรรณไม้ข้างต้นไว้ย่อ ๆ ดังนี้

กัลปพฤกษ์ [กันละปะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia bakeriana Craib ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ฝักมีขนนุ่ม

กาฬพฤกษ์ น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cas sia grandis L.f. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นดํา ใบอ่อนสีแดง ดอกเล็ก สีแดงคล้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม ฝักใหญ่อ้วนสั้น ผิวขรุขระ ด้านข้างมีสัน เป็นพรรณไม้ที่นําเข้ามาปลูก

ชัยพฤกษ์ [ไชยะพฺรึก] น. ชื่อไม้ ต้นชนิด Cassia javanica L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝักเกลี้ยง ใช้ทํายาได้

ราชพฤกษ์ [ราดชะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia fistula L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง ฝักสีดํา เกลี้ยง ใช้ทํายาได้, คูน หรือ ลมแล้ง ก็เรียก; ดอกไม้ประจำชาติ

ด้วยชื่อที่มีความหมายโดดเด่นของราชพฤกษ์ ที่แปลว่า ต้นไม้ของพระราชา และเป็นไม้ยืนต้นที่มีดอกสีเหลืองอร่ามตา ดอกราชพฤกษ์ จึงเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำชาติไทย








ที่มาของดอกไม้ประจำชาติไทย


เอกลักษณ์ประจำชาติของไทยอย่างหนึ่ง ที่แสดงถึงความสวยงาม ร่มเย็น คือ ดอกไม้ เดิมไม่มีการบันทึกแน่ชัดว่า เป็นดอกไม้ชนิดใดคือดอกไม้ประจำชาติไทยเพียงแต่ต่อพู ดกันต่อ ๆ มาว่า ดอกราชพฤกษ์หรือชัยพฤกษ์ น่าจะเป็นดอกไม้ประจำชาติไทย
คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบและออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ๓ สิ่ง ลงนามโดยพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔ คือ

ในเบื้องต้น กระทรวงเกษตร กรมป่าไม้ ได้จัดประชุมเรื่อง การกำหนดต้นไม้และสัตว์ประจำชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๐๖ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๐๖ และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้กำหนดต้นราชพฤษ์หรือคูณ เป็นต้นไม้ประจำชาติ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประชุมเรื่องการกำหนดเอกลักษณ์ประจำชาติไทยในเรื่ องดอกไม้ประจำชาติ

และได้ให้เหตุผลในการเลือกดอกราชพฤกษ์ (คูณ) Ratchaphruek (Cassia Fistula Linn.) เป็นดอกไม้ประจำชาติ เพื่อส่งเสริมสัญลักษณ์ประจำชาติไทย และเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้มีผลระยะยาว ด้วยเหตุผลตามผลสรุปของการศึกษา และรวบรวมข้อมูลของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรว่า

ราชพฤกษ์ เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักกันแพร่หลาย สามารถขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย

1 Have around Thailand.

ราชพฤกษ์ ใช้ประโยชน์ได้มากเช่นฝักเป็นสมุนไพร ที่มีค่ายิ่งในตำหรับแพทย์แผนโบราณและแก่นแข็งใช้ทำเ สาเรือนได้ดี

2 Use for Medicine,Furniture(Building house)

ราชพฤกษ์ มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวไทย เพราะเป็นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนามและอาถรรพ์ แก่นไม้ชัยพฤษ์เคยใช้พิธีสำคัญ ๆ มาก่อนเช่น พิธีลงหลักเมืองใช้เป็นเสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ทำคธาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร นอกจากนี้อินทรธนูของข้าราชการพลเรือนก็จำลองจาก ช่อชัยพฤษ์เป็นเครื่องหมาย

3 Best tree,used in the palace celebration.

ราชพฤกษ์ มีอายุยืนนานและทนทาน

4 Tree is long live.

ราชพฤกษ์ มีทรวดทรงและพุ่มงามมีดอกเหลืองอร่ามเต็มต้น เป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา

5 Symbol for Buddish.
อ้างอิงhttp://webboard.playpark.com/showthread.php?41454-%D1%A1%CD%A1%D0%A8%D3%AA%D2%B5%C2%A1%D1%B9

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น