วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

เอเซียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


แผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและการปะทุของภูเขาไฟอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยดินแดนและหมู่เกาะด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของแผ่นดินใหญ่ และแม้ว่าโดยทางเขตแดนแล้ว หมู่เกาะอันดามัน จะเป็นของอินเดีย แต่ทางภูมิศาสตร์แล้วถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมทีเดียวเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังหมายรวมอาณาเขตที่กว้างกว่านั้น รวมไปถึง ตอนใต้ของจีน ฮ่องกง และไต้หวันด้วย แต่เนื่องจากระยะหลังใช้หลักการแบ่งทางการเมือง ทำให้ส่วนดังกล่าวจึงถูกรวมเข้ากับบริเวณเอเชียตะวันออก





1 ประวัติศาสตร์

1.1 การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

2 ภูมิศาสตร์

2.1 ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต

2.2 ภูมิประเทศ

2.3 ภูมิอากาศ

3 ประชากร

3.1 ศาสนา

4 ประเทศและดินแดน

4.1 ประเทศ

4.2 ดินแดน

5 ดูเพิ่ม

6 อ้างอิง





[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

มิลตัน ออสบอร์น (Milton Osborne) นักประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวออสเตรเลียแบ่งยุคสมัยไว้อย่างหลวม ๆ ดังนี้



สมัยคลาสสิก

สมัยจารีต

สมัยอาณานิคม

สมัยใหม่[1]

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ทางซีกโลกตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย โดยทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และทิศตะวันตกติดประเทศอินเดียและบังคลาเทศ โดยตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 10 องศาใต้ถึงละติจูดที่ 28 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 92 องศาตะวันออกถึง 141 องศาตะวันตก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดยแบ่งตามภูมิศาสตร์คือ ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีป และส่วนที่เป็นหมู่เกาะ



ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปเป็นพื้นแผ่นดินใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย และอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา บางส่วนของประเทศมาเลเซีย ส่วนที่เป็นหมู่เกาะ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ บางส่วนของประเทศมาเลเซีย และติมอร์ตะวันออก



ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แบ่งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน มีช่องแคบ 4 แห่ง ได้แก่ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา ช่องแคบลอมบอก และช่องแคบมาคัสซาร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย



[แก้] ภูมิประเทศ



ภูเขาไฟมายอน ในประเทศฟิลิปปินส์ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ดังนี้



บริเวณทิวเขาและที่ราบลาดเนินตะกอนเชิงเขา ทิวเขาภายในแผ่นดินใหญ่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ แผ่กระจายออกมาจากชุมเขายูนนาน โดยมี 3 แนว ได้แก่ แนวทิศตะวันตก คือ ทิวเขาอะระกันในพม่าต่อเนื่องไปในทะเลอันดามัน เป็นภูเขาหินใหม่จึงมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แนวกลางเป็นทิวเขาด้านทิศตะวันออกของพม่าต่อเนื่องลงไปถึงภาคเหนือของไทยจนถึงภาคใต้ แนวทิศตะวันออก คือ ทิวเขาในลาวและเวียดนาม ทิวเขาตามแนวกลางและตะวันออกเป็นภูเขายุคหินกลางจึงไม่มีปรากฏการณ์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงเหมือนแนวทิศตะวันตก

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ พบอยู่สองฝั่งของแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่ราบสำคัญได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีในพม่า ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงของเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม ส่วนที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่สำคัญ เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำอิรวดี เป็นต้น

ที่ราบชายฝั่งทะเล ได้แก่ บริเวณที่เป็นหาดทรายที่เกิดจากการทับถมของทรายจากการกระทำของคลื่นในทะเล บริเวณที่เป็นดินเลนซึ่งมักจะพบป่าไม้ เช่น ป่าโกงกาง ป่าจาก เป็นต้น พบได้ทั่วไปในทุกประเทศของภูมิภาค ยกเว้นประเทศลาวซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ไม่มีที่ราบชายฝั่งทะเล เพราะไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล)

หมู่เกาะ ส่วนใหญ่เป็นเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟ ทั้งที่ยังมีพลังและที่ดับสนิทแล้ว ต่อเนื่องมาจากทิศตะวันตกในแผ่นดินประเทศพม่า ลงไปเป็นหมู่เกาะอันดามัน นิโคบาร์ สุมาตรา ชวา ในอินโดนีเซีย และหมู่เกาะในฟิลิปปินส์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากมาย ประเทศที่มีเกาะจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย ซึ่งมีเกาะมากกว่า 17,000 เกาะ ประเทศฟิลิปปินส์มีเกาะประมาณ 7,000 เกาะ เนื่องจากดินในเขตภูเขาไฟจะมีความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้แถบนี้มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แม้จะต้องเสี่ยงต่อการปะทุของภูเขาไฟและแผ่นดินไหว

[แก้] ภูมิอากาศ



ไซโคลนนาร์กีส ขณะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2551ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นหรือเขตร้อน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ มีสภาพภูมิอากาศชุ่มชื้นในฤดูฝนและแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน และอีกลักษณะหนึ่ง คือ มีฝนตกชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี เนื่องจากภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ดังนั้นจึงมีอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันหรือรายเดือนสูงสม่ำเสมอตลอดทั้งปี



ลักษณะภูมิอากาศที่สลับระหว่างความชุ่มชื้นในฤดูฝน และความแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน จะพบได้ในบริเวณประเทศส่วนต่อกับแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย ได้แก่ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ที่อยู่เหนือละติจูด 10 องศาเหนือขึ้นไป ในฤดูฝนจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งพายุที่พัดมาจากทิศตะวันออก ทำให้มีฝนตกชุกในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ส่วนในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายนจะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนพัดพาเอาความแห้งแล้งเข้ามาสู่พื้นที่ ทำให้เห็นความแตกต่างของทั้งสองฤดู ในบางปีอาจมีพายุหมุนพัดเข้าสู่แผ่นดินใหญ่ทำให้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุก่อน เช่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และลาว จะได้รับผลกระทบมาก ทำให้เกิดภัยน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม



สำหรับประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์นั้น จะได้รับอิทธิพลจากลมทะเลและพายุแบบต่าง ๆ เกือบตลอดทั้งปี จึงทำให้มีฝนตกชุก ยกเว้นบางบริเวณที่อาจจะมีอากาศแห้งแล้งได้บ้างเป็นระยะเวลาสั้น เช่น ทางตะวันออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับประเทศฟิลิปปินส์พายุไต้ฝุ่นซึ่งมีทั้งความเร็วลมสูงและปริมาณน้ำฝนมาก พัดผ่านประเทศเป็นจำนวนมากกว่า 10 ลูกต่อปี ทำให้ประเทศได้รับผลกระทบที่รุนแรงเป็นประจำ



[แก้] ประชากร

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2007 มีประชากรประมาณ 575.5 ล้านคน สิงคโปร์ คือเกาะที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลกหากเทียบกับขนาด [ต้องการอ้างอิง] มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา และ ศาสนา



[แก้] ศาสนา

ทางฝั่งแผ่นดินใหญ่ในภูมิภาคนี้นั้น จะนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนมาก ประเทศเหล่านั้นคือ ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และ พม่า สิงคโปร์นั้นก็เป็นประเทศนับถือศาสนาพุทธ ส่วนทางด้านคาบสมุทรมลายู และ หมู่เกาะอินโดนีเซีย นั้น จะนับถือศาสนาอิสลาม ได้แก่ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และ บรูไน ส่วนประเทศฟิลิปปินส์นั้น นับถือศาสนาคริสต์ ประเทศติมอร์ตะวันออกนั้นก็นับถือศาสนาคริสต์เป็นหลักเหมือนกัน



แบ่งออกได้เป็นดังนี้



หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (อินเดีย) พราหมณ์-ฮินดู (71%), พุทธ, คริสต์, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, อิสลาม, ซิกข์

บรูไน อิสลาม (67%), พุทธ (13%), คริสต์ (10%), อื่นๆ (ความเชื้อพื้นเมือง ฯลฯ) (10%)

ประเทศพม่า พุทธนิกายเถรวาท (89%), อิสลาม (4%), คริสต์ (4%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (1%), อื่นๆ (2%)

กัมพูชา พุทธนิกายเถรวาท (95%), อิสลาม, คริสต์, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, อื่นๆ (5%)

เกาะคริสต์มาส (ออสเตรเลีย) พระพุทธศาสนา (36%), อิสลาม (25%), คริสต์ (18%), ลัทธิเต๋า (15%), อื่นๆ (6%)

หมู่เกาะโคโคส (ออสเตรเลีย) อิสลามนิกายซุนนีย์ (80%), อื่นๆ (20%)

ติมอร์ตะวันออก คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (90%), อิสลาม (5%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (3%), อื่นๆ (พุทธ, พราหมณ์-ฮินดู, อื่นๆ) (2%)

อินโดนีเซีย อิสลาม (86.1%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (5.7%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (3%), พราหมณ์-ฮินดู (1.8%), อื่นๆ รวม พุทธ, ไม่ระบุ (3.4%)[2]

ลาว พุทธนิกายเถรวาท (65%) with ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (32.9%), คริสต์ (1.3%), อื่นๆ (0.8%)

มาเลเซีย อิสลาม (60.4%), พุทธนิกายมหายาน (19.2%), คริสต์ (9.1%), พราหมณ์-ฮินดู (6.1%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (5.2%)

ปาปัวนิวกินี คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (27%), อีวานจีลิค ลูเทอแรน (20%), เธอะ ยูไนเต็ด เชิร์ช (12%), คริสต์นิกายเซเวนเดย์ แอดเวนติสต์ (10%), Pentecostal (9%), คริสต์นิกายอีแวนเจลิค (7%), คริสต์นิกายแองกลิกัน (3%), คริสต์นิกายอื่น ๆ (8%), อื่น ๆ (4%)

ฟิลิปปินส์ คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (80%), อิสลาม (5%), คริสต์นิกายอีแวนเจลิค (2.8%), Iglesia ni Cristo (2.2%), Philippine Independent Church (Aglipayan) (2%), คริสต์นิกายอื่น ๆ (3%), อื่นๆ (ความเชื่อดั้งเดิม, พุทธ, ยิว, ไม่มีศาสนา, อื่นๆ) (5%)

สิงคโปร์ พุทธ (42.5%), อิสลาม (15%), ลัทธิเต๋า (8%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (4.5%), พราหมณ์-ฮินดู (4%), ไม่มีศาสนา (15%), คริสต์ (10%), อื่นๆ (1%)

ไทย พุทธนิกายเถรวาท (94.6%), อิสลาม (4.6%), อื่นๆ (1%)

เวียดนาม พุทธนิกายมหายาน (78%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (7%), พุทธนิกายเถรวาท (5%), ศาสนาจ๋าว ได่ (2%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (1%), อื่นๆ (ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, ลัทธิฮวา ห่าว, อิสลาม, ไม่มีศาสนา, อื่นๆ; 7%)



[แก้] ประเทศและดินแดน

[แก้] ประเทศ

ลำดับ ประเทศ พื้นที่ (ตร.กม.)[3] ประชากร (พ.ศ. 2552)[4] ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) เมืองหลวง

1 อินโดนีเซีย 1,904,569 229,965,000 120.7 จาการ์ตา

2 ประเทศพม่า 676,578 50,020,000 73.9 เนปีดอ

3 ไทย 513,115 67,389,730 122.0 กรุงเทพมหานคร

4 เวียดนาม 331,210 88,069,000 265.0 ฮานอย

5 มาเลเซีย 329,847 27,468,000 83.3 กัวลาลัมเปอร์

6 ฟิลิปปินส์ 300,000 91,983,000 306.6 มะนิลา

7 ลาว 236,800 6,320,000 26.7 เวียงจันทน์

8 กัมพูชา 181,035 14,805,000 81.8 พนมเปญ

9 ติมอร์ตะวันออก 14,874 1,134,000 76.2 ดิลี

10 บรูไน 5,765 400,000 69.4 บันดาร์เสรีเบกาวัน

11 สิงคโปร์ 710.2 4,737,000 6,796.3 สิงคโปร์ (ดาวน์ทาวน์ คอร์)



[แก้] ดินแดน

ดินแดน พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) เมืองเอก

หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (อินเดีย) 8,249[5] 356,265[5] 43.2 พอร์ตแบร์

เกาะคริสต์มาส (ออสเตรเลีย) 135[6] 1,402[6] 10.4 ฟลายอิงฟิชโคฟ

หมู่เกาะโคโคส (ออสเตรเลีย) 14[7] 596[7] 42.6 เวสต์ไอส์แลนด์



[แก้] ดูเพิ่ม

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

ซีเกมส์ กีฬาที่แข่งสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

[แก้] อ้างอิง

^ ศึกษาเพิ่มเติมที่ ออสบอร์น, มิลตัน. (2544). เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : สังเขปประวัติศาสตร์. เชียงใหม่: ตรัสวิน (ซิลค์เวอร์มบุ๊คส์).

^ Indonesia - The World Factbook https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/id.html

^ Country Comparison :: Area. CIA World Factbook. สืบค้นวันที่ 2009-09-12

^ Table A.1. Total Population by Sex in 2009 and Sex Ratio by Country In 2009 (Medium Variant). Population Division of the Department of Economic and Social Affairs of the United Nations Secretariat. สืบค้นวันที่ 2009-09-12

^ 5.0 5.1 Andaman and Nicobar Islands: General Info. National Informatics Centre. สืบค้นวันที่ 2009-09-12

^ 6.0 6.1 Christmas Islands. CIA World Factbook. สืบค้นวันที่ 2009-09-12

^ 7.0 7.1 Cocos (Keeling) Islands. CIA World Factbook. สืบค้นวันที่ 2009-09-12

[ซ่อน]ด • พ • กภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก



แอฟริกา แอฟริกากลาง · คองโก · แอฟริกาตะวันออก · ทะเลสาบใหญ่ · กินี · จะงอยแอฟริกา · แอฟริกาเหนือ · มาเกร็บ · ซาเฮล · แอฟริกาใต้ · แอฟริกากึ่งสะฮารา · ซูดาน · แอฟริกาตะวันตก



อเมริกา อเมริกาเหนือ กลุ่มแคริบเบียน · อเมริกากลาง · เกรตเลกส์ · เกรตเพลนส์ · อเมริกาเหนือ · แปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ · ภูมิภาคแปซิฟิก

อเมริกาใต้ กลุ่มรัฐแอนดีส · เกียนา · ปาตาโกเนีย · ลาตินอเมริกา · อเมริกาใต้ · อเมริกาใต้ตอนใต้ · ภูมิภาคแปซิฟิก





ยูเรเชีย เอเชีย เอเชียกลาง · เอเชียตะวันออก · อินดีสตะวันออก · ตะวันออกไกล · อนุทวีปอินเดีย · เอเชียเหนือ · ไซบีเรีย · เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ · ตะวันออกกลาง · ตะวันออกใกล้ · กลุ่มรัฐเลแวนต์ · อนาโตเลีย · อาหรับ

ยุโรป บอลข่าน · ภูมิภาคบอลติก · เบเนลักซ์ · หมู่เกาะอังกฤษ · ยุโรปกลาง · ยุโรปตะวันออก · ยุโรปเหนือ · กลุ่มนอร์ดิก · สแกนดิเนเวีย · ยุโรปใต้ · ยุโรปตะวันตก





โอเชียเนีย ออสตราเลเซีย · เมลานีเซีย · ไมโครนีเซีย · โพลินีเซีย · หมู่เกาะอะลิวเชียน · ภูมิภาคแปซิฟิก

http://th.wikipedia.org/wiki/เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น