วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ออสเตเรีย

ประเทศออสเตรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Republik Österreich
เรพูบลิค เอิสเทอร์ไรค์
สาธารณรัฐออสเตรีย
ธงชาติออสเตรียตราแผ่นดินของออสเตรีย
ธงชาติตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติLand der Berge, Land am Strome
("ดินแดนแห่งภูเขา, ดินแดนบนแม่น้ำ")
ที่ตั้งของออสเตรีย
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เวียนนา
48°12′N 16°21′E
ภาษาทางการภาษาเยอรมัน
รัฐบาลประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
 - ประธานาธิบดีไฮนซ์ ฟีเชอร์
 - นายกรัฐมนตรีเวอร์เนอร์ เฟย์มัน
เอกราช
 สนธิสัญญารัฐออสเตรีย
26 ตุลาคม พ.ศ. 2498 
เข้าร่วม EU1 มกราคม พ.ศ. 2538
เนื้อที่
 - ทั้งหมด83,872 ตร.กม. (ลำดับที่ 115)
 - พื้นน้ำ (ร้อยละ)1.3
ประชากร
 - 2550 (ประมาณ)8,316,487 (อันดับที่ 93)
 - 2544 (สำรวจ)8,032,926 
 - ความหนาแน่น99/ตร.กม. (อันดับที่ 99)
GDP (PPP)2548 (ประมาณ)
 - รวม267 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 34)
 - ต่อประชากร32,962 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 8)
GDP (ราคาปัจจุบัน)2548 (ประมาณ)
 - รวม318 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 22)
 - ต่อประชากร39,292 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 10)
HDI (2546)0.944 (สูง) (อันดับที่ 17)
สกุลเงินยูโร² (EUR)
เขตเวลาCET (UTC+1)
 - ฤดูร้อน (DST)CEST (UTC+2)
รหัสอินเทอร์เน็ต.at
รหัสโทรศัพท์+43
¹ภาษาทางการในระดับภูมิภาคได้แก่ ภาษาสโลวีเนีย ภาษาโครเอเชีย ภาษาฮังการี ส่วนภาษามือออสเตรียได้รับการคุ้มครองในฐานะภาษาของชนกลุ่มน้อย
²ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2542: ชิลลิงออสเตรีย
ประเทศออสเตรีย หรือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria) (ภาษาเยอรมัน: Österreich, ภาษาโครเอเชีย: Austrija, ภาษาฮังการี: Ausztria, ภาษาสโลวีเนีย: Avstrija) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและสาธารณรัฐเช็ก ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรัฐสภา

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติศาสตร์

Wiki letter w.svgส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้

[แก้] การเมือง

Wiki letter w.svgส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

ออสเตรียเป็นประเทศสหพันธรัฐที่ประกอบด้วย 9 รัฐ (states - Bundesländer) รัฐเหล่านี้แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น เขต (districts - Bezirke) และ นคร (cities - Statutarstädte) ซึ่งในเขตแต่ละแห่งยังแบ่งออกเป็นเทศบาล (municipalities- Gemeinden)
รัฐทั้ง 9 แห่งของออสเตรีย ได้แก่

[แก้] ภูมิศาสตร์

ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน ตามแผนที่ประเทศออสเตรียมีความกว้างจากทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกมากกว่า 575 กิโลเมตร มีความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้มากกว่า 294 กิโลเมตร
ประมาณ 60% ของสภาพภูมิประเทศของประเทศออสเตรียมีลักษณะเป็นภูเขาและเนินเขา ซึ่งได้รับการขานนามให้เป็น "ดินแดนแห่งขุนเขา" ประเทศออสเตรียมีการพาดผ่านของเส้นทาง "แม่น้ำดานูบ (Donau)" โดยผ่านรัฐโลว์เออร์ออสเตรีย หรือ นีเดอเริสเทอร์ไรค์ (Lower Austria; Niederösterreich) และ รัฐอัปเปอร์ออสเตรีย หรือ โอเบอเริสเทอร์ไรค์ (Upper Austria; Oberösterreich) เพื่อไหลต่อไปยังสาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic) ภูมิประเทศของประเทศออสเตรียแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
ภูเขา (berge) 
ภูเขาสูงในประเทศออสเตรียมีความสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 3,000 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศออสเตรียตั้งอยู่ทางเทือกเขาด้านตะวันออก (Ostalpen) ด้วยความสูง 3,798 เมตร มีชื่อว่า โกรสซ์กล็อกเนอร์ (Großglockner) ยอดเขาที่สูงรองลงมาคือ ไวล์ดชะปิทซ์ (Wildspitze) ด้วยความสูง 3,774 เมตร และยอดเขาที่สูงเป็นอันดับที่สามของประเทศออสเตรยคือ ไวสซ์กูเกิล (Weißkugel) ด้วยความสูง 3,738 เมตร ด้วยลักษณะของภูเขาเป็นจุดสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบกีฬาฤดูหนาว (Wintersport) ยกตัวอย่างเช่น สกี สโนว์บอร์ด เป็นต้น ส่วนในฤดูร้อน ก็ยังสามารถที่จะท่องเที่ยวชื่นชมสภาพป่า และการปีนเขา อีกด้วย
ทะเลสาบ (Seen)
ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศออสเตรียมีชื่อว่า นอยซิดเลอร์ ซี (Neusiedler See) โดยมีพื้นที่ประมาณ 77% หรือประมาณ 315 ตารางกิโลเมตร อยู่ที่รัฐบูร์เกนลันด์ (Burgenland) ส่วนพื้นที่อีกประมาณ 33% ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของประเทศฮังการี และยังมีทะเลสาบอื่นๆ ที่มีความสำคัญคือ อาทเทอร์ซี (Attersee) ด้วยพื้นที่ประมาณ 46 ตารางกิโลเมตร และ ทรอนซี (Traunsee) อยู่ในพื้นที่รัฐ โอเบอเริสเทอร์ไรค์ (Upper Austria; Oberösterreich) และทะเลสาบอื่นๆ อีกมากมายที่มีความสำคัญมากสำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อน เช่น โบเดนซี (Bodensee) , ซาล์ซคามเมอร์กูทส์ (Salzkammerguts) , โวทเฮอร์ซี (Wörthersee) , มิลล์ชะเททเทอร์ ซี (Millstätter See) , ออสเซียเชอร์ ซี (Ossiacher See) , ไวส์เซ่นซี (Weißensee) , โมนด์ซี (Mondsee) , โวล์ฟกังซี (Wolfgangsee) เป็นต้น
แม่น้ำ (Flüsse) 

[แก้] เศรษฐกิจ

เป็นแบบเสรีนิยมผสมสังคมนิยม โดยรัฐมีบทบาทในอุตสาหกรรม และวิสาหกิจหลัก เช่น อุตสาหกรรมขั้นปฐม การผลิตกระแสไฟฟ้า ธนาคาร และกิจการสาธารณูปโภค สาเหตุที่รัฐได้เข้ามาจัดการบริหารแบบรวมศูนย์ ก็เพื่อป้องกันการครอบครองจากโซเวียตภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ออสเตรียจึงเริ่มแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และได้พัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาดได้สำเร็จ ซึ่งทำให้ประชาชนมีมาตรฐานความเป็นอยู่สูง รัฐบาลชุดที่ผ่านมา ซึ่งเป็นพรรคขวา ได้มีแผนที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจการของรัฐเพิ่มเติม อันจะทำให้รัฐบาลออสเตรียมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจลดลง และในช่วงเวลาที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างแบบ Social Partnership ในช่วงทศวรรษที่ 60 และ 70 ได้ลดน้อยลงตามเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่เปลี่ยนไป รัฐบาลชุดปัจจุบันซึ่งนำโดยพรรคฝ่ายซ้ายสังคมนิยมจึงมีนโยบายชะลอการแปรรูปรัฐวิสาหกิจลง และเป็นที่คาดว่า จะมีนโนบายที่ทำให้ความสัมพันธ์ของนายจ้างและลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมเป็นไปแบบ Social Partnership ต่อไป

[แก้] แนวโน้มการหวนคืนครองบัลลังก์

การชุมนุมเรียกร้องการสถาปนาพระราชวงศ์ ณ ใจกลางกรุงเวียนนา การชุมนุมเรียกร้องในหัวข้อ 89 Jahre Republik Sind Genug!: 89ปี...มากพอแล้วสำหรับสาธารณรัฐเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีการชุมนุมเรียกร้องการฟื้นฟูสถาปนา พระราชวงศ์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการีขึ้น ณ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เมื่อเวลา 9 นาฬิกา ต่อมาเวลา 18 นาฬิกา ก็มีการชุมนุมเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูสถาปนาพระราชวงศ์อิมพีเรียลให้กลับมาครองบัลลังก์ และยังเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในออสเตรีย และฮังการีอีกด้วย การชุมนุมนี้มีขึ้น ณ ใจกลางกรุงเวียนนา โดยมีหัวข้อชุมนุมเรียกร้องเป็นภาษาเยอรมันว่า 89 Jahre Republik Sind Genug! แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า 89 Years are enough for the Republic: 89 ปี...มากพอแล้วสำหรับการเป็นสาธารณรัฐ การชุมนุมของทั้ง 2 ประเทศนี้ ทำให้มีการประชุมอย่างเร่งด่วนในรัฐสภาทั้งในออสเตรียและฮังการี รวมทั้งประธานาธิบดีของทั้ง 2 ประเทศต่างหารือกันอีกด้วย ทั้งนี้ อาจมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของทั้ง 2 ประเทศ และอาจมีแนวโน้มว่า พระราชวงศ์อิมพีเรียลอาจกับมาเรืองอำนาจอีกครั้ง และพระองค์เองอาจมีโอกาสได้กลับมาครองราชย์ก็เป็นได้

[แก้] การอภิเษกสมรส

ออตโต ฟอน ฮับส์บูร์ก และพระชายาออตโต ฟอน ฮับส์บูร์กทรงอภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงเรจิน่าแห่งแซ๊กซ์-ไมนินเจนและไฮด์บูรก์เฮาเซน ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระโอรสและพระธิดารวม 7 พระองค์ และยังทรงมีพระราชนัดดารวมทั้งหมด 23 พระองค์
อาร์คดัชเชสแอนเดรียแห่งออสเตรีย ทรงประสูติเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ทรงอภิเษกสมรสกับท่านเค้านท์คาร์ล ยูเจน แห่งไนปเปร์ก ทรงมีพระโอรส 3 พระองค์ พระธิดา 2 พระองค์ อาร์คดัชเชสโมนิก้าแห่งออสเตรีย ทรงประสูติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2497 ทรงอภิเษกสมรสกับ หลุยส์ เดอ คาซาโนวา คานดานาส์ ยี บารอน, ดยุคแห่งซานตาแองเจโล, มาเควสแห่งเอลเค้, เค้านท์แห่งโลโดซ่า, และแกรนด์ดีแห่งสเปน ซึ่งทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของเจ้าหญิงหลุยส์ซ่า เทเรซาแห่งสเปน ทรงมีพระโอรส 4 พระองค์ อาร์คดัชเชสไมเคิลล่าแห่งออสเตรีย ทรงประสูติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2497 ทรงเป็นพระขนิษฐาฝาแฝดกับอาร์คดัชเชสโมนิก้า ทรงอภิเษกสมรสครั้งแรกกับ เอริค เตรัน เดอ แอนติน ทรงมีพระโอรส 2 พระองค์ และพระธิดา 1 พระองค์ ภายหลังทรงหย่าและสมรสใหม่กับเค้านท์ฮัมเบอร์สแห่งคาเกเน็ค อาร์คดัชเชสกาเบรียลล่าแห่งออสเตรีย ทรงประสูติเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ทรงอภิเษกสมรสกับคริสเตียน เมสเตอร์ ภายหลังทรงหย่าเมื่อพ.ศ. 2540 มีพระโอรส 1 พระองค์ และพระธิดา 2 พระองค์ อาร์คดัชเชสวาร์ลบูก้าแห่งออสเตรีย ทรงประสูติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับท่านเค้าท์อาร์คิบาล์ด ดักลาส ทรงมีพระโอรส 1 พระองค์ อาร์คดยุคคาร์ล มกุฏราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี ทรงประสูติเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2504 ทรงอภิเษกสมรสกับ บารอนเนส ฟรานเซสก้าแห่งทิสเซน บอร์เนอมิสซา ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์ และพระโอรส 1 พระองค์ ดังนี้ อาร์คดัชเชสเอลีนอร์แห่งออสเตรีย ทรงประสูติเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย ทรงประสูติเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2538 อาร์คดัชเชสกลอเรียแห่งออสเตรีย ทรงประสูติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542 สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย

[แก้] ตำแหน่งในนาม

พระราชวงศ์อิมพีเรียลแห่งออสเตรีย
สมเด็จพระจักรพรรดิ สมเด็จพระจักรพรรดินี อาร์คดัชเชสแอนเดรีย อาร์คดัชเชสโมนิก้า อาร์คดัชเชสไมเคิลล่า อาร์คดัชเชสกาเบรียลล่า อาร์คดัชเชสวาร์ลบูก้า อาร์คดยุคคาร์ล มกุฎราชกุมาร อาร์คดัชเชสฟรานเซสก้า มกุฏราชกุมารี อาร์คดัชเชสเอลีนอร์ อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ อาร์คดัชเชสกลอเรีย อาร์คดยุคจอร์ช อาร์คดัชเชสอีไลก้า อาร์คดัชเชสโซฟี อาร์คดัชเชสฮิลด้า อาร์คดยุคคาร์ล คอนสแตนติน จัดการ: แม่แบบ • พูดคุย • แก้ไข อาร์คดยุคจอร์ชแห่งออสเตรีย ทรงประสูติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2507 ทรงอภิเษกสมรสกับ ดัชเชสอีไลก้า เฮเลน จูทต้า เซเลเมนตีน แห่งโอลเดนเบอร์ก มีพระธิดา 2 พระองค์ และ พระโอรส 1 พระองค์ ดังนี้ อาร์คดัชเชสโซฟีแห่งออสเตรีย ทรงประสูติเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2544 อาร์คดัชเชสฮิลด้าแห่งออสเตรีย ทรงประสูติเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2545 อาร์คดยุคคาร์ล คอนสแตนตินแห่งออสเตรีย ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547

[แก้] ประชากร

จากการสำรวจในปี 2549 ประเทศออสเตรียมีประชากรโดยประมาณ 8,260,000 คน อายุขัยเฉลี่ยของประชากรหญิงสูงกว่าประชากรชาย ประชากรหญิงออสเตรียมีอายุเฉลี่ย 82.1 ปี ส่วนประชากรชายออสเตรีย 76.4 ปี ในประเทศออสเตรียส่วนใหญ่ประชากรจะเป็นผู้สูงอายุ และเนื่องจากค่าครองชีพในประเทศออสเตรียอยู่ในอัตราสูงมาก จึงมีผลในการส่งผลให้อัตราการเกิดใหม่ของประชากรลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งอัตราการเกิดใหม่ของประชากรอยู่ที่ 0.45% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำมาก

[แก้] วัฒนธรรม

ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 73.6 คริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ร้อยละ 4.7 มุสลิมร้อยละ 4.2 อื่นๆ ร้อย ละ 3.5 ไม่ระบุร้อยละ2 ไม่นับถือศาสนาร้อยละ 12

[แก้] ศาสนา

74.1% ของจำนวนประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 4.6% ของจำนวนประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์, ประชากรจำนวนประมาณ 180,000 คน นับถือนิกายคริสต์นิกายออโธด็อกส์, ประชากรจำนวนประมาณ 8,140 คนนับถือนิกายยิว, ประชากรจำนวนระหว่าง 15,000-338,998 คนนับถือศาสนาอิสลาม (ประเทศเริ่มมีศาสนาอิสลามมาตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1912) , ประชากรจำนวนมากกว่า 10,000 คนนับถือศาสนาพุทธ และประชากรจำนวน 20,000 คนเลือกที่จะไม่นับถือศาสนาใด ยึดหลักความเป็นกลาง (จากผลสำรวจในปีพุทธศักราช 2544 หรือปีคริสต์ศักราช 2001)

[แก้] ดนตรีในแต่ละยุคของออสเตรีย

ดนตรีของออสเตรียในยุคที่ศาสนาเจริญรุ่งเรือง คือ ช่วงยุคกลาง ซึ่งมีลักษณะเหมือนดนตรีในประเทศแถบยุโรป แต่หลังจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เพลงที่ร้องในโบสถ์ เช่น เพลงสวดเกรกอเรียน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอิตาลีก็แพร่หลายเข้ามา และในศตวรรษที่ 18โอเปราที่มาจากอิตาลีก็ได้รับความนิยมในพระราชวังเป็นอย่างมาก หลังจากศตวรรษที่ 18ออสเตรียก็โด่งดังเรื่องดนตรีตลอดช่วงระยะเวลากว่า 300ปี โดยเฉพาะช่วงกลางศตวรรษที่ 18จนถึงช่วงศตวรรษที่ 19 วอลฟ์กัง อามาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart : ค.ศ. 1756-1791)ฟรันซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (franz Joseph Haydn : ค.ศ.1732-1809)ฟรันซ์ ชูแบร์ท (Franz schubert : ค.ศ.1797-1828)โยฮันน์ สเตราส์ที่1และ2 (Johann strauss 1 : ค.ศ.1804-1849,Johann strauss 2 : ค.ศ.1825-1899) ด้วยกันทั้งสิ้น ในยุคนี้ดนตรีคลาสสิกในบรรดาบทเพลง คอนเชอร์โต (Concerto) และซิมโฟนี (Symphony)ล้วนพัฒนาจากโซนาตา (Sonata)ทั้งสิ้น เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20กล่าวว่าคีตกวีชื่อ อาโนลด์ เชินแบร์ท เป็นผู้เริ่มดนตรีแบบไม่มีบันไดเสียงไดอาโทนิกและบันไดเสียงไมเนอร์ที่เป็นทฤษฎีพื้นฐานของบทเพลงแถบตะวันตก และหลังจากที่เชินแบร์กเสียชีวิต ลูกศิษย์ของเชินแบร์กได้พัฒนาแนวคิดและนำเสนอดนตรีแบใหม่โดยต้นกำเนิดจากทฤษฎีของเชินแบร์กที่ผสมผสานเสียงดนตรีคลาสสิกกับดนตรีพื้นบ้านของออสเตรียให้เกิดเสียงไพเราะที่ทำให้รู้สึกอิสระ นุ่มนวลและอบอุ่น

[แก้] อ้างอิง

อ้างอิงhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

ดอกไม้ประจำชาติไทย




คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ กำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ๓ สิ่งได้แก่
สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย (Chang Thai)

ดอกไม้ประดับชาติ คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek)

สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ ศาลาไทย (Sala Thai)

แม้ว่าคณะกรรมการฯ ได้กำหนดให้ดอกราชพฤกษ์ เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยแล้ว ก็ยังมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับลักษณะและการเรียกชื่อ ซึ่งมักสับสนกับพรรณไม้ในสกุลเดียวกันอย่าง ชัยพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ กาฬพฤกษ์

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรยายลักษณะของพรรณไม้ข้างต้นไว้ย่อ ๆ ดังนี้

กัลปพฤกษ์ [กันละปะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia bakeriana Craib ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ฝักมีขนนุ่ม

กาฬพฤกษ์ น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cas sia grandis L.f. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นดํา ใบอ่อนสีแดง ดอกเล็ก สีแดงคล้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม ฝักใหญ่อ้วนสั้น ผิวขรุขระ ด้านข้างมีสัน เป็นพรรณไม้ที่นําเข้ามาปลูก

ชัยพฤกษ์ [ไชยะพฺรึก] น. ชื่อไม้ ต้นชนิด Cassia javanica L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝักเกลี้ยง ใช้ทํายาได้

ราชพฤกษ์ [ราดชะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia fistula L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง ฝักสีดํา เกลี้ยง ใช้ทํายาได้, คูน หรือ ลมแล้ง ก็เรียก; ดอกไม้ประจำชาติ

ด้วยชื่อที่มีความหมายโดดเด่นของราชพฤกษ์ ที่แปลว่า ต้นไม้ของพระราชา และเป็นไม้ยืนต้นที่มีดอกสีเหลืองอร่ามตา ดอกราชพฤกษ์ จึงเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำชาติไทย








ที่มาของดอกไม้ประจำชาติไทย


เอกลักษณ์ประจำชาติของไทยอย่างหนึ่ง ที่แสดงถึงความสวยงาม ร่มเย็น คือ ดอกไม้ เดิมไม่มีการบันทึกแน่ชัดว่า เป็นดอกไม้ชนิดใดคือดอกไม้ประจำชาติไทยเพียงแต่ต่อพู ดกันต่อ ๆ มาว่า ดอกราชพฤกษ์หรือชัยพฤกษ์ น่าจะเป็นดอกไม้ประจำชาติไทย
คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบและออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ๓ สิ่ง ลงนามโดยพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔ คือ

ในเบื้องต้น กระทรวงเกษตร กรมป่าไม้ ได้จัดประชุมเรื่อง การกำหนดต้นไม้และสัตว์ประจำชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๐๖ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๐๖ และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้กำหนดต้นราชพฤษ์หรือคูณ เป็นต้นไม้ประจำชาติ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประชุมเรื่องการกำหนดเอกลักษณ์ประจำชาติไทยในเรื่ องดอกไม้ประจำชาติ

และได้ให้เหตุผลในการเลือกดอกราชพฤกษ์ (คูณ) Ratchaphruek (Cassia Fistula Linn.) เป็นดอกไม้ประจำชาติ เพื่อส่งเสริมสัญลักษณ์ประจำชาติไทย และเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้มีผลระยะยาว ด้วยเหตุผลตามผลสรุปของการศึกษา และรวบรวมข้อมูลของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรว่า

ราชพฤกษ์ เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักกันแพร่หลาย สามารถขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย

1 Have around Thailand.

ราชพฤกษ์ ใช้ประโยชน์ได้มากเช่นฝักเป็นสมุนไพร ที่มีค่ายิ่งในตำหรับแพทย์แผนโบราณและแก่นแข็งใช้ทำเ สาเรือนได้ดี

2 Use for Medicine,Furniture(Building house)

ราชพฤกษ์ มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวไทย เพราะเป็นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนามและอาถรรพ์ แก่นไม้ชัยพฤษ์เคยใช้พิธีสำคัญ ๆ มาก่อนเช่น พิธีลงหลักเมืองใช้เป็นเสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ทำคธาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร นอกจากนี้อินทรธนูของข้าราชการพลเรือนก็จำลองจาก ช่อชัยพฤษ์เป็นเครื่องหมาย

3 Best tree,used in the palace celebration.

ราชพฤกษ์ มีอายุยืนนานและทนทาน

4 Tree is long live.

ราชพฤกษ์ มีทรวดทรงและพุ่มงามมีดอกเหลืองอร่ามเต็มต้น เป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา

5 Symbol for Buddish.
อ้างอิงhttp://webboard.playpark.com/showthread.php?41454-%D1%A1%CD%A1%D0%A8%D3%AA%D2%B5%C2%A1%D1%B9

คำว่า "แม่"


แม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่ หรือ มารดา เป็นคำที่เรียกผู้ให้กำเนิด และโดยทั่วไป คือ แม่ที่เป็นบุคคลสำคัญของครอบครัวแบบ พ่อ แม่ ลูก เป็นผู้มีพระคุณต่อลูกเพราะเป็นผู้ให้กำเนิด แม่ทั่วไปมีหน้าที่ให้ครอบครัวคือ เลี้ยงลูก ดูแลบ้าน
สำหรับผู้หญิงที่จะเป็นแม่คน หรือจะมีบุตรได้นั้น ควรจะมีอายุระหว่าง 20-30 ปี เนื่องจากในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ผู้หญิงมีการเจริญเติบโตทางร่างกาย สมบูรณ์เต็มที่ ไม่เด็ก หรือว่าแก่เกินไป
คนไทยบางคนมักเรียก แม่ ของตัวเองว่า "คุณแม่" ซึ่งถือเป็นคำที่สุภาพกว่าการเรียกว่า "แม่" ห้วน ๆ
ในภาษาไทยบางครั้งคำว่า แม่ ถูกใช้เรียก ผู้หญิง ทั่วๆไป หรือ จำเพาะเป็นกลุ่มๆ เช่น แม่บ้าน แม่นม หรือบางครั้งก็ใช้เรียกสิ่งที่เป็นตัวหลักของสิ่งอื่น เช่น แม่ทัพ แม่งาน และบางครั้งก็เรียกสิ่งที่ให้กำเนิดสิ่งอื่นๆในธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ
มีบทประพันธ์แปลเกี่ยวกับความรักของแม่ของพระราชธรรมนิเทศ ไว้ดังนี้[1]
Cquote1.svg
ในโลกอันหนาวทรวงลวงหลอกนี้
ช่างไม่มีธารรักอันศักดิ์สิทธิ์
ที่ซึมซาบดื่มด่ำอมฤต
เหมือนในจิตของแม่รักแท้จริง
Cquote2.svg

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] การออกเสียงคำว่าแม่ของแต่ละภาษา

แม่หรือว่าผู้หญิงที่แต่งงานแล้วให้กำเนิดลูก และลูกก็จะเรียกผู้หญิงคนนั้นว่าแม่โดยทั่วไปแล้วแต่ละภาษามักจะใช้อักษร "ม" เหมือนกันหมดเช่น
  • คนไทย จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "แม่"
  • ภาษาอังกฤษ จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "มาเธอร์ (Mother)" หรือ "มัม (Mom)"
  • ภาษาสันสกฤต จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มารดา"
  • ภาษาบาลี จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มาตา"
  • คนจีน จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "ม่าม้า"
  • คนแขก จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มามี้"
  • คนฝรั่งเศส จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มามอง"
  • คนญี่ปุ่น จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "โอก้าซัง"
  • คนเกาหลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "ออมม่า"
  • คนเวียดนาม เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "แม๊" ออกเสียงใกล้เคียงภาษาไทยมาก

[แก้] ความหมายของคำว่า "แม่" ในภาษาไทย

ในภาษาไทยเราให้ความหมายของคำว่าแม่นั้นมากกว่าแปลว่าหญิงผู้ให้กำเนิดลูกเท่านั้น แต่แม่ยังหมายรวมไปถึงหญิงที่ต้องการเคารพยกย่อง เช่น
  • แม่พระ
กรณีที่ให้ความหมายเป็นต้นแบบ เช่น
  • แม่พิมพ์ หมายความว่า เป็นเบ้าหล่อที่ใช้ในงานพิมพ์
  • แม่แบบ หมายความว่า แบบจำลอง พิมพ์เขียว หรือ ตัวอย่าง เป็นต้น
กรณีที่ให้ความหมายในเชิงความยิ่งใหญ่หรือพิเศษ เช่น
  • แม่น้ำ ซึ่งหมายความว่า ลำธารขนาดใหญ่
  • แม่พิมพ์ของชาติ ที่เป็นอุปมาในการเปรียบเทียบครูว่า เบ้าที่ใช้ในการหล่อหลอมเยาวชนซึ่งถือเป็นอนาคตของชาติ
  • แม่ทัพ หมายความว่า ผู้ซึ่งมีอำนาจมากที่สุดในกองทัพ
  • แม่งาน หมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้า หรือเป็นกำลังหลักในการทำงาน
  • แม่บท หมายความว่า แผนงานหลักขนาดใหญ่ ซึ่งกินเวลาในการดำเนินการร่วมปี ในบางครั้งอาจถือใช้เป็นการถาวร
  • แม่เหล็ก หมายความว่า โลหะพิเศษชนิดหนึ่งมีอำนาจในการดูดเหล็กได้
  • แม่แรง หมายความว่า เครื่องทุ่นแรงสำหรับช่วยในการยกของหนัก
  • แม่ไม้ หมายความว่า ท่าแม่แบบของศิลปะป้องกันตัว
กรณีที่ให้ความหมายถึงหญิงที่ทำหน้าที่ต่างๆ เช่น
  • แม่นม หมายความว่า หญิงที่มีหน้า่ที่ให้ทารกดูดนมของตัวเอง
  • แม่เลี้ยง หมายความว่า หญิงที่มีเป็นภรรยาของพ่อ แต่ไม่ได้ให้กำเนิด
  • แม่บุญธรรม หมายความว่า หญิงที่รับอุปการะเลี้ยงดูเด็กโดยสมัครใจ
  • แม่บ้าน หมายความว่า หญิงที่มีหน้าที่ดูแลจัดการภายในบ้าน
  • แม่ครัว หมายความว่า หญิงที่มีหน้าที่ในการประกอบ หรือปรุงอาหาร
  • แม่ชี หมายความว่า เป็นพุทธศาสนิกชนเพศหญิงที่โกนผม โกนคิ้ว นุ่งขาวห่มขาว รักษาศีล ๘
นอกจากนี้ยังมี แม่สามี แม่ยาย แม่แก่ แม่เฒ่า แม่หม้าย แม่ร้า แม่แปรก ฯลฯ
อ้างอิงhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์สเปน

ประวัติศาสตร์สเปน คือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับอาณาบริเวณส่วนใหญ่บนคาบสมุทรไอบีเรียในภูมิภาคยุโรปใต้ซึ่งมีพัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านยุครุ่งเรืองและยุคตกต่ำของจักรวรรดิสากลแห่งแรกของโลกจนกลายมาเป็นราชอาณาจักรสเปนในปัจจุบัน อันเป็นช่วงฟื้นฟูตนเองหลังสมัยการปกครองแบบเผด็จการของนายพลฟรังโกได้ผ่านพ้นไป มีอยู่หลายช่วงที่ประวัติศาสตร์การเมืองและการทหารของสเปนเต็มไปด้วยความวุ่นวายและความรุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายและความพยายามที่จะจัดการกับความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดความเชื่อในดินแดนของตนนั่นเอง
มนุษย์สมัยใหม่เข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียเป็นเวลานานกว่า 35,000 ปีมาแล้ว ตามมาด้วยคลื่นผู้รุกรานและผู้ตั้งอาณานิคมชนชาติต่าง ๆ ได้แก่ ชาวเคลต์ ชาวฟินิเชีย ชาวคาร์เทจ และชาวกรีกตลอดระยะเวลานับพัน ๆ ปี เมื่อถึงประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทั้งคาบสมุทรจึงตกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโรมัน ก่อนจะตกไปอยู่ภายใต้การปกครองจากชาววิซิกอท และในปี ค.ศ. 711 ชาวแอฟริกาเหนือซึ่งเป็นชาวมุสลิม (ชาวมัวร์) ก็เริ่มเข้ามามีอำนาจ ในที่สุดอาณาจักรอิสลามก็ได้รับการสถาปนาขึ้นบนคาบสมุทรแห่งนี้และยืนหยัดได้เป็นเวลาประมาณ 750 ปี ซึ่งพื้นที่ที่ชาวมุสลิมครอบครองนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลอันดะลุส แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังเป็นช่วงที่เรียกว่า "เรกองกิสตา" หรือการยึดดินแดนคืนของชาวคริสต์ซึ่งค่อย ๆ รุกลงไปทางใต้ เหตุการณ์เหล่านี้ดำเนินไปถึงจุดสิ้นสุดเมื่อชาวคริสต์สามารถพิชิตที่มั่นแห่งสุดท้ายของชาวมุสลิมที่กรานาดาได้ในปี ค.ศ. 1492 จากนั้นราชอาณาจักรและรัฐคาทอลิกต่าง ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรียก็ได้พัฒนาขึ้น รวมทั้งราชอาณาจักรคาสตีลและราชอาณาจักรอารากอนด้วย ซึ่งการรวมกันของอาณาจักรทั้งสองนี้จะนำไปสู่ความเป็นปึกแผ่นของรัฐชาติสเปนในเวลาต่อมา[1]
ปี ค.ศ. 1492 นี้ยังเป็นปีแห่งความสำเร็จของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสในการค้นพบโลกใหม่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาความมั่งคั่งและความแข็งแกร่งให้กับสเปน อีกหลายศตวรรษถัดมา สเปนในฐานะเจ้าอาณานิคมได้กลายเป็นชาติมหาอำนาจที่มีความสำคัญมากสุดในเวทีโลก วรรณกรรมสเปนและศิลปะสเปนเข้าสู่ยุคทองในสมัยใหม่นี้เอง อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์สเปนในช่วงนี้ก็มีจุดด่างพร้อยในเรื่องการขับไล่ชาวยิวและชาวมุสลิม การตั้งศาลไต่สวนทางศาสนา และการปฏิบัติต่อชนพื้นเมืองอย่างไม่เป็นธรรมระหว่างการล่าอาณานิคมในทวีปอเมริกา
ภายในอีกไม่กี่ศตวรรษ จักรวรรดิของสเปนในโลกใหม่ก็มีอาณาเขตแผ่ขยายจากแคลิฟอร์เนียไปจรดปาตาโกเนีย ในช่วงนี้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กจากออสเตรียเข้ามามีอำนาจในราชบัลลังก์สเปนแล้ว (ตามมาด้วยราชวงศ์บูร์บงในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18) ในทวีปยุโรป สเปนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามและความขัดแย้งทั้งในเรื่องลัทธิศาสนาและการแย่งชิงความเป็นใหญ่กันเองหลายต่อหลายครั้ง คู่สงครามที่สำคัญได้แก่ อังกฤษและฝรั่งเศส ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในลักษณะนี้ทำให้สเปนสูญเสียดินแดนในครอบครองที่ในปัจจุบันคือประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และอิตาลีไป นอกจากนี้ ผลเสียจากสงครามเหล่านั้นก็ทำให้สเปนต้องตกอยู่ในสภาวะล้มละลายอีกด้วย เมื่อเวลาผ่านไป อำนาจและเกียรติภูมิของจักรวรรดิก็เสื่อมถอยลงเป็นลำดับ และเมื่อสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 การถูกฝรั่งเศสเข้ารุกราน การเรียกร้องเอกราชของดินแดนอาณานิคม และความพ่ายแพ้ในการทำสงครามกับสหรัฐอเมริกาก็ทำให้สเปนเสียอาณานิคมของตนไปเกือบทั้งหมด
ความไม่มั่นคงทางการเมืองที่เพิ่มความซับซ้อนและความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นำสเปนไปสู่การนองเลือดในสงครามกลางเมืองซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศ สงครามสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายชาตินิยมที่มีนายพลฟรันซิสโก ฟรังโกเป็นผู้นำ (เผด็จการ) สูงสุด สภาพบ้านเมืองโดยทั่วไปในช่วงนี้จึงค่อนข้างสงบและมีความมั่นคง (ยกเว้นการก่อวินาศกรรมของขบวนการเรียกร้องเอกราชในแคว้นบาสก์) สเปนประกาศตนเป็นกลางตลอดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งแม้จะมีความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน่าทึ่งในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษ 1970 แต่ก็ต้องถูกโดดเดี่ยวทางวัฒนธรรมและการเมืองจากประชาคมโลก ฟรังโกปกครองประเทศในระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยมจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1975 การเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยจึงเริ่มขึ้น ประเทศสเปนในช่วงเวลาปัจจุบันนี้มีพัฒนาการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและทันสมัย แม้จะมีความตึงเครียดหลงเหลืออยู่ก็ตาม (เช่น กับผู้อพยพชาวมุสลิมและในแคว้นบาสก์) โดยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีมาตรฐานการครองชีพเติบโตเร็วที่สุดในยุโรป การเข้าเป็นสมาชิกประชาคมยุโรป และการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%99